การจัดการเรียนรู้ เพื่อการจัดการตนเอง

๑. ด้านความรู้ มุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจ (ปัญญา) จากทุนเดิมในท้องถิ่น

    และสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน เกี่ยวกับ

     ๑) ความเข้าใจต่อการพัฒนาความมั่นคงภายใน (สมาธิ) ให้สามารถ

         เข้าถึงความจริงแท้

     ๒) ความเข้าใจต่อการจัดการตนเอง ให้เกิดความสามารถในการจัดการ

         ปัจจัยสี่ ได้แก่ ความสามารถในการผลิตอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม

         และการดูแลรักษาร่างกาย

     ๓) ความเข้าใจ ต่อการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า สัตว์ป่า และสังคมชุมชน

         ให้เอื้อประโยชน์ ต่อการจัดการปัจจัยสี่ และการพัฒนาความมั่นคงภายใน

๒. ด้านทัศนคติ มุ่งเน้นให้เกิดความรู้สึกตัว (สติ) ตามหลักการของโครงการ

    สุขแท้ด้วยปัญญา โดยพระไพศาล วิสาโล ได้ระบุถึงทัศนคติ อันเป็นที่มาแห่ง

    ความสุขแท้ ไว้ดังนี้ คือ 

     ๑)  การคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง 

     ๒) การไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุเพียงอย่างเดียว

     ๓) การเชื่อมั่นในความเพียรของตน ไม่หวังลาภลอย  คอยโชค

     ๔) การรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และเป็นประโยชน์เกื้อกูล

๓. ด้านพฤติกรรม มุ่งเน้นให้เกิดการยกระดับปฏิบัติตน (ศีล) ด้วยการทำงานเพื่อ

     ปฏิบัติธรรมสู่การเติบโตภายในอันเป็นประโยชน์สูงสุด แห่งโอกาสในการเกิดมา

     เป็นมนุษย์ คือ

     ๑) ระดับของการไม่เชื่อมั่น ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญ ของการทำงานเพื่อสังคม

     ๒) ระดับของความเชื่อมั่นศรัทธา เห็นความสำคัญของงานเพื่อสังคมอย่างงมงาย  

     ๓) ระดับของการมุ่งเรียนรู้จากการทำงานเพื่อสังคมอย่างเข้มข้น เร่งเติบโต 

         แต่ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ยังมีความต้องการความเก่ง ความดีและ

        ได้รับการยอมรับ

     ๔) ระดับของการเพิ่มมุมมอง อย่างรอบด้านต่อการทำงานเพื่อสังคม ปรับตัวประยุกต์

         ตามเงื่อนไขปัจจัยความเชื่อมโยง และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง  แต่อาจจะอยู่ใน

         ระดับที่ช้าไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง (เริ่มลดทอนตัวตนลงอย่างชัดเจน)

    ๕) ระดับของการเพิ่มมุมมองภายในเห็นความจริง เกิดการปรับวิธีคิด-ทัศนคติ อย่าง

         ละเอียดขัดเกลา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน อย่างเท่าทัน ต่อความเปลี่ยน

           แปลงจากภายนอก (ลดตัวตนลงเป็นอยู่อย่างว่าง /ทำงานเพื่อปฏิบัติธรรม)

 

พันธะกิจของสถาบันปัญญาปีติ

 การขับเคลื่อนงานสร้างสังคมแห่งสุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับองค์กรภาคี แบ่งออก

เป็น ๔ ด้านสำคัญ คือ

 ๑. การพัฒนาศักยภาพความสามารถของบุคลากร เน้นการพัฒนาเยาวชนเป็น

      ยุวกระบวนกร / การพัฒนาผู้ที่สนใจ เป็นกระบวนกรที่เน้นสุขภาวะทางปัญญา /

      การพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อสังคม

 ๒. การพัฒนาพื้นที่รูปธรรม  เป็นการหนุนเสริมศักยภาพในการสร้างพื้นที่รูปธรรม

      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่ทาง

      สังคมแห่งสุขภาวะทางปัญญา

๓. การพัฒนากองบุญ ด้านความร่วมมือ เวลา ความสามารถ แรงงาน อุปกรณ์ และ

     งบประมาณ

๔. การพัฒนาการประกอบการ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการประกอบการ

     ในการร่วมกันขับเคลื่อนสังคมแห่งสุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับความรับผิดชอบต่อ

     สังคมของบริษัท (CSR)

.

กองทุน “จัดการเรียนรู้ เพื่อ จัดการตนเอง”

ชื่อบัญชี นายนิติศักดิ์ โตนิติ และนางเกศสุดา โตนิติ และนางปาลิตา ตาลี

บัญชีออมทรัพย์เลขที่

๕๐๕-๐-๓๙๔๕๓-๔

ธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขาอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคณะบุคคลสถาบันปัญญาปีติ

เลขที่ ๐๙๙-๒-๐๐๒๘๔๓๙๐-๔   

จดทะเบียนคณะบุคคลเมื่อวันที่

๒๔ พ.ค.๒๕๕๒

.