สรุปการดำเนินงานกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน

08/01/2014 23:11

จากการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖

สามารถเป็นสรุปบทเรียนโดยแบ่งหมวดหมู่ออกเป็นด้านต่างๆ ได้ ๔ ด้านคือ

  • ด้านการพัฒนาความรู้ ความสามารถ (กายภาวนา)
  • ด้านการประสานงานและการสร้างความสัมพันธ์ (ศีลภาวนา)
  • ด้านการเรียนรู้พัฒนาจิตใจของตนเอง (จิตภาวนา)
  • ด้านการสร้างความเท่าทันต่อการดำเนินชีวิต (ปัญญาภาวนา)

 

บทเรียนด้านการพัฒนาความรู้ ความสามารถ แบ่งออกเป็น

1. การวางแผนและการแบ่งหน้าที่กันทำงานในกลุ่ม (เกิดผลร้อยละ๘๐) เนื่องมาจา

  • การร่วมคิด เกี่ยวกับเป้าหมายและกำหนดวิธีการ/ระยะเวลา ในการดำเนินงาน ตามความถนัด ตามความสนใจ/สมัครใจ
  • การกระจายงานให้ทุกคนได้ร่วมกันทำงานอย่างจริงจังตั้งใจ รับผิดชอบงาน เห็นความสำคัญของงานในส่วนย่อยๆ
  • มีผู้รับผิดชอบในการเตรียมงบประมาณและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน

  แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มเติม ในปี พ.ศ.๒๕๕๗

  • ออกแบบให้มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่มให้เกิดประสบการณ์การทำงานร่วมกันมากขึ้น
  • เพิ่มการสรุปผลการดำเนินงานและการพัฒนาศักยภาพของแต่ละคน

2.  การทำความเข้าใจกับสมาชิกในชุมชนบนพื้นที่สูงเกี่ยวกับเป้าหมายการดำเนินงานของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน (เกิดผลร้อยละ ๗๐)จาก

  • การดำเนินงานมีการประสานผู้นำเข้าร่วมกิจกรรมทำให้กิจกรรมมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น
  • การพูดคุยรายบุคคลโดยเริ่มจากคนที่คุยง่ายก่อน แล้วจึงค่อยๆขยายผลสู่คนที่เข้าใจยากชวนกันไปช่วยกันคุย
  • การจัดเวทีประชุมทำความเข้าใจก่อนทำกิจกรรมกับสมาชิกในชุมชน
  • การจัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนโดยเชื่อมเอาวัฒนธรรม ประเพณีการแต่งกาย การขับบทธา (ลำนำ) การนำวิถีชีวิตในชุมชนมาใช้ในการจัดกิจกรรมเรียนรู้
  • การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น การดูแลสุขภาพ การลด ละ เลิก การใช้ผงชูรส การดูแลสุขภาพด้วยการปรับการกิน การอยู่ การกัวซาถอนพิษ การปลูกผัก

   แนวทางในการดำเนินงานเพิ่มเติม ในปี พ.ศ.๒๕๕๗

  • ทำกิจกรรมฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมในชุมชน
  • จัดให้มีการสะท้อนข้อมูล (ด้วยป้ายแสดงภาพ / ตัวเลข) และคืนข้อมูลให้สมาชิกในชุมชนรับทราบผลของการจัดกิจกรรม
  • เพิ่มการประสานงานผู้นำ ผู้รู้ และวิทยากร ตลอดจนกลุ่มเป้าหมาย
  • พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ ทั้งด้านภาษา
  • เพิ่มกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตของสมาชิกในชุมชน

 

บทเรียนด้านการประสานงานและการสร้างความสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น

1. บทเรียนจากการดำเนินงานในระดับพื้นที่ ได้แก่

  • อาศัยประเพณี วัฒนธรรม เป็นจุดรวมใจ
  • การพูดคุยอย่างเป็นมิตร ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยเริ่มจากคนใกล้ชิด ญาติพี่น้องของสมาชิกในกลุ่มฯ พูดคุยและ

        สร้างความเข้าใจให้เกิดการเรียนรู้การดูแลสุขภาพ (กัวซาถอนพิษ) แล้วจึงขยายผลสู่ชุมชน

2. บทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายนอกพื้นที่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีและได้รับความชื่นชม

     ถึงความตั้งใจในการทำงานของกลุ่มฯ เนื่องจาก

  • กลุ่มฯ มีเป้าหมายในการทำงานด้านการเรียนรู้ที่ชัดเจน (อาหาร ยา ผ้า บ้าน)
  • มีการนำเสนอความตั้งใจในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือญาติพี่น้องและสมาชิกในชุมชน
  • มีการทำงานเป็นระบบชัดเจน จริงจัง เชื่อมโยงกับการดำรงอยู่ของวิถีชีวิต

   แนวทางในการพัฒนาเพิ่มเติม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗

  • พัฒนาด้านการสื่อสารกันภายในกลุ่มฯ เพื่อดูแลสนับสนุนการเรียนรู้กันและกัน

บทเรียนด้านการพัฒนาจิตใจ แบ่งออกเป็น

  • มีเหตุผลในการคิดตัดสินใจมากขึ้น (เกิดผลร้อยละ ๖๕) พบเห็นจากมีการรับฟังมากขึ้น และคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง
  • ในปีพ.ศ.๒๕๕๗ มีแนวทางในการพัฒนาการรับฟังอย่างใส่ใจ ให้เกิดคุณภาพต่อการย้อนกลับมาทบทวนตนเอง

        ไม่กล่าวโทษผู้อื่น แต่ย้อนกลับมาทบทวนว่าเรายังทำอะไรน้อยไป ทำอะไรผิดพลาดไป ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมส่วนไหน

        จะสื่อสารกลับอย่างเป็นปกติได้อย่างไร (โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้สึกตัว “สติ” ให้เกิดเท่าทันต่อความโลภ ความโกรธ

        ความหลง ของตนเอง)

บทเรียนด้านการสร้างความเท่าทันต่อการดำเนินชีวิต แบ่งออกเป็น

  • เรียนรู้ด้านการกิน การอยู่ จะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร (แยกแยะสิ่งสำคัญ/ไม่สำคัญ เร่งด่วน/ไม่เร่งด่วน)
  • แนวทางการพัฒนาจากการดำเนินงานในพ.ศ.๒๕๕๗ คือ การพัฒนาทักษะวิธีคิดแนวพุทธ “โยนิโสมนสิการ” ได้แก่

        การแยกแยะองค์ประกอบ / ข้อดี-ข้อเสีย /คุณ-โทษ-ทางออก / การสืบสาวหาเหตุปัจจัย / การเร้ากุศล

บันทึกสรุปกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน ปี ๕๖(แก้ไข).docx (31117)